สวัสดีค่ะทุกท่าน
Essay ในครั้งนี้เป็น Essay แรกของปี 2564
ซึ่งหัวข้อคือ “สิ่งที่ตัวเองรับรู้กับสิ่งที่คนอื่นรับรู้ไม่ตรงกัน”
สำหรับเดือนที่แล้ว ดิฉันมีโอกาสได้ไปเยี่ยมลูกค้าหลายท่านในช่วงสิ้นปี
จากการที่ได้สนทนาทั้งเรื่องงานและเรื่องทั่วไป
จึงรู้สึกได้ว่าลูกค้าแต่ละท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของบริษัทดิฉันที่แตกต่างกันออกไป
บริษัทของดิฉันดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการแปลเอกสาร การจัดหาล่าม
การจัดพิมพ์หนังสือ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและ DTP
แต่ก็มีบางท่านคิดว่าเป็น “บริษัทเกี่ยวกับกฎหมาย”
หรือบางท่านก็คิดว่าเป็น “บริษัทแปลเอกสาร”
พอคุยไปคุยมาจึงเข้าใจได้ว่าภาพลักษณ์ของบริษัทขึ้นอยู่กับบริการแรกที่ได้รับจากบริษัท
(เช่น ลูกค้าที่สั่งแปลเอกสารก็จะมองว่าเป็น “บริษัทแปลเอกสาร”)
เช่น เมื่อเจอกับใครสักคน และถามว่าคนนั้น (บุคคลที่สาม)
ดูเป็นคนอย่างไร บางคนก็บอกว่า “ดูท่าทางใจดี” แต่อีกคนหนึ่งกลับบอกว่า “ดูท่าทางน่ากลัว”
แน่นอนว่าไม่มีใครถูกใครผิด แต่ทั้ง “ดูท่าทางใจดี”
และ “ดูท่าทางน่ากลัว” นั่นแหละที่ถูกทั้งคู่
เราจะรู้ภาพลักษณ์ของบริษัทและตัวเองได้จากมุมมองภายนอกก็ต่อเมื่อเราได้ฟังคำพูดของอีกฝ่าย
ลูกค้าแต่ละท่านต่างก็มองภาพลักษณ์ของบริษัทดิฉันต่างกันออกไปราวกับจิ๊กซอว์ที่กระจัดกระจาย
หากคิดในมุมของบริษัท เราจำเป็นต้องรวบรวมชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์
และการเข้าใจที่ตรงกันเป็นสำคัญ ในครั้งนี้ ดิฉันมีโอกาสได้เจอกับลูกค้าหลายท่าน
จึงเข้าใจภาพลักษณ์ของบริษัทได้มากขึ้น
และได้ทำให้จุดที่บริษัทเป็นอยู่ในปัจจุบัน (= มุมมองจากอีกฝ่าย)
มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
และรู้สึกได้ว่าเราต้องพยายามลดระยะห่างระหว่างการรับรู้ของตัวเองและอีกฝ่ายให้มากขึ้นค่ะ
ดิฉันหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะคะ