[Workshop] เปิดรับสมัครหลักสูตรการแปล และล่ามภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้น

การไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท (แปลไทย)

สวัสดีค่ะทุกท่าน Essay ในครั้งนี้จะขอพูดถึงเรื่องส่วนตัวนะคะ

ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2561 ดิฉันจะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

โดยมีห้วข้อการศึกษาวิจัย คือ “ปัญหาและการบริหารจัดการแรงงานสำหรับบริษัทต่างชาติในประเทศไทย”

ดิฉันมาเมืองไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2541 ปีนี้ก็อยู่เมืองไทยมาครบ 20 ปีแล้ว จากการได้มาอยู่

และได้ทำงานที่นี้ ทำให้ดิฉันมีความคิดว่า “อยากทำในสิ่งที่จะช่วยพัฒนาประเทศไทย”

และ “อยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย”

แม้จะต้องเรียนก็จะยังทำงานไปด้วย เมื่อเริ่มต้นสมัครเรียน

ดิฉันจึงทำ “แผนการวิจัย” ไม่ใช่แค่เรียนและทำวิจัยอย่างเดียว

ดิฉันตัดสินใจแล้วว่าอยากทำวิจัยเพื่อช่วยประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และช่วยสังคม

ดิฉันขออนุญาตเขียนถึงแผนการวิจัยของดิฉันนะคะ

《ระเบียบวิธีวิจัย》

[หัวข้อวิจัย]

“ปัญหาและการบริหารจัดการแรงงานสำหรับบริษัทต่างชาติในประเทศไทย”

[บริบทการทำวิจัย]

ในปี 2544 ดิฉันได้จัดตั้งบริษัทขึ้นที่ประเทศไทย

ซึ่งปัจจุบันดิฉันเป็นผู้บริหารบริษัทแปลเอกสาร บริษัทจัดหาล่าม และบริษัททำหนังสือ

ด้วยตำแหน่งของดิฉัน ดิฉันจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายไทย

โดยเฉพาะกฎหมายแรงงาน ก่อนหน้านี้ดิฉันเข้าใจภาษาไทย

แต่ไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายเพราะไม่มีความรู้ด้านกฎหมายของญี่ปุ่น

ในฐานะผู้บริหารบริษัทแปลเอกสาร ดิฉันจึงคิดเสมอว่า

“ถ้าไม่มีความรู้ด้านกฎหมายในภาษาแม่ ก็จะไม่สามารถเข้าใจกฎหมายในภาษาอื่นได้”

ถ้าไม่เข้าใจกฎหมายที่เป็นภาษาแม่ถึงจะสามารถใช้ภาษาไทยได้ แต่ก็เข้าใจเรื่องกฎหมายได้ยาก

ดิฉันจึงเข้าศึกษาต่อที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Nihon เมื่อเดือนเมษายน ปี 2553

และจบการศึกษาในเดือนมีนาคม 2557

เมื่อดิฉันได้ศึกษาด้านกฎหมายที่ประเทศญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้าใจกฎหมายของประเทศไทย

แต่มีความเข้าใจเพียงบางส่วนยังนำมาเชื่อมโยงกันไม่ได้

จนต่อมาเมื่อสามารถเชื่อมโยงกฎหมายกับการบริหารบริษัทได้แล้ว

ดิฉันจึงเข้าใจว่ากฎหมายไทยกับกฏหมายญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างคดีต่างกันอย่างไร การตีความและความขัดแย้งระหว่างกฎหมายกับการปฏิบัติเป็นอย่างไร

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2558 ดิฉันได้ไปเป็นอาจารย์ที่ ส.ส.ท.

โดยสอนเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานของไทยให้แก่ผู้แทนนิติบุคคลจากบริษัทญี่ปุ่นต่างๆ

แล้วก็บริหารบริษัทไปด้วย ดิฉันจึงนำงานไปปรับใช้ในการสอนกฎหมายว่าด้วยแรงงานของประเทศไทย

ความแตกต่างของตัวอย่างคดีความ ความขัดแย้งระหว่างกฎหมายกับการปฏิบัติ

ความแตกต่างระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายญี่ปุ่น

และความแตกต่างในการตีความในแง่ของกฎหมายแรงงาน

ดิฉันคิดว่าควรมีวิธีการแก้ปัญหารูปแบบอื่นก่อนที่จะนำหลักทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

และไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการนำกฎหมายมาใช้เพียงอย่างเดียว

ต้องลองวิธีการอื่นๆ ก่อนที่จะนำหลักกฎหมายมาใช้

ในฐานะที่ดิฉันเป็นครู ยิ่งสอนกฎหมายว่าด้วยแรงงาน

ยิ่งคิดว่าไม่ว่าจะคนไทยหรือคนญี่ปุ่น สิ่งที่สำคัญคือการสื่อสารและความเข้าใจกัน

ในเวลาที่สอนมักจะมีคำถามเกี่ยวกับ “วิธีป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงาน”

จากผู้มาฟังบ่อยครั้ง ในความเป็นจริงก็สามารถนำกฎหมายมาใช้ได้

แต่ให้คิดว่าอะไรคือสาเหตุและเราอาจป้องกันได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น

ทั้งนี้ “ปัญหาและการบริหารจัดการแรงงานสำหรับบริษัทต่างชาติในประเทศไทย”

เป็นบริบทการทำวิจัยในฐานะชาวต่างชาติที่ใช้ประสบการณ์การบริหารบริษัทในประเทศไทย

[วัตถุประสงค์ของการวิจัย]

เพื่อแสดงให้เห็นระเบียบวาระและแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาแรงงาน

และช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

[การทบทวนวรรณกรรม]

การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ข้างต้นและสรุปแนวความรู้

[วิธีวิจัย]

ใช้ความรู้ก่อนการวิจัยและประสบการณ์ส่วนตัวในการตั้งสมมติฐานว่า “การควบคุมจะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง”

หรือ “ดีขึ้น” และการสอบถามบริษัทญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจในไทยและบริษัทไทย

[เป้าหมายการวิจัย]

งานวิจัยนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นและจะช่วยสร้างสันติในโลกได้

กรุณาคลิกที่นี่เพื่ออ่านบทความภาษาญี่ปุ่นค่ะ

よかったらシェアしてね!
  • URLをコピーしました!
  • URLをコピーしました!
目次