Essay ในครั้งนี้คือ “ความแตกต่างของ “การทำงานเก่ง”
ในมุมมองของผู้บริหารกับ “การทำงานเก่ง” ในมุมมองของพนักงาน”
ตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ชีวิตประจำวัน
และรูปแบบการทำงานของพวกเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
รวมถึงสภาพแวดล้อมของบริษัทเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
อย่างตัวดิฉันเองซึ่งรับให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่บริษัทต่างๆ
จะทราบได้ว่าด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบัน
ทำให้การดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทแย่ลงไปด้วย
บริษัทจึงจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานโดยไม่มีทางเลือก
และมีผู้ขอคำปรึกษาจากดิฉันในประเด็นนี้มากขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่มีผู้ขอคำปรึกษามากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาคือ “อยากให้พนักงานที่ทำงานไม่เก่งลาออกไป”
ซึ่งอันที่จริงแล้ว ถึงแม้จะไม่มีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ก็เป็นเรื่องที่มีผู้ขอคำปรึกษามากที่สุด
และเป็นคำถามที่ต้องมีคนถามทุกครั้ง
แม้แต่ในช่วงการตอบคำถามระหว่างการบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่ ส.ส.ท.
ประเด็นคือ “การทำงานเก่งมีลักษณะอย่างไร”
ดิฉันขอตั้งคำถามกับทุกท่านว่า “การทำงานเก่งในมุมมองของท่านมีลักษณะอย่างไร
และต้องเป็นคนแบบไหน”
ถ้าถาม 10 คน ก็คงจะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน และถ้าถามทั้ง 10 บริษัท
ดิฉันก็คิดว่าทั้ง 10 บริษัทนั้นคงจะมีแนวคิดและดุลยพินิจที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน
ทุกครั้งที่ดิฉันได้รับคำถามนี้ในระหว่างการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
และการสอนเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานจะรู้สึกว่า “เกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสารอย่างชัดเจน”
“การทำงานเก่ง” นั้นเป็นเรื่องที่กำกวมและเข้าใจได้ยาก
เพราะแต่ละคนก็มีแนวคิดและความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป
และหากไม่ถ่ายทอดออกมาให้ชัดเจนจะเข้าใจไม่ตรงกัน
ถ้าพูดถึงบริษัท ก็มักจะมีพนักงานในอุดมคติของแต่ละบริษัทอยู่
ทั้งทักษะที่จำเป็นในแต่ละระดับและตำแหน่ง ลักษณะของบุคลากรที่ต้องการ
รวมไปถึงความรับผิดชอบและอำนาจในการตัดสินใจที่ดี
หากผู้บริหารและพนักงานเข้าใจไม่ตรงกันในจุดนี้
จะกลายเป็นว่า “อยากให้พนักงานที่ทำงานไม่เก่งลาออกไป” นั่นเองค่ะ
หากผู้อ่านทุกท่านที่ทำงานอยู่ในบริษัทรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการประเมินใดๆ
อาจจะเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นได้ค่ะ
หากลองถามกับผู้บริหารหรือหัวหน้าโดยตรงอาจเป็นเรื่องที่ดีก็ได้นะคะ
ดิฉันหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะคะ